วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555


- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายให้ไปทำสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book
บัตรคำ  

- อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มดิฉัน ต้องแก้ไขงาน
กลุ่มดิฉันได้ไปรายงานแล้วก็มีคำแนะนำเรื่องการทำงาน
1.หน้าปกตัวหนังสือให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน  และให้มันอยู่ในรูปประโยค ทำให้ดูง่าย  ควรมีภาพประกอบ
2.การใช้คำถามกับเด็ก
3.การที่เด็กเขียนผิดเราไม่ควรปล่อยให้ผิดเพราะเราเป็นครูปฐมวัยควรระมัดระวัง
4.คำลงท้ายควรสรุปให้สั้นกว่านี้

    กลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

-  วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานของกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอและ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน  และอาจารย์ได้มอบหมายงาน คือ ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ในหัวข้อมันคืออะไร   และบัตรคำ  ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุภาพันธ์ พ.ศ. 2555


       กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน
 -  อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present งานที่มอบหมายให้เด็กตัดรูปภาพติดลงกระดาษ   ตัวอย่างคือเธอชอบกินอะไร

-  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในเรื่อง การรายงานหน้าชั้นเรียน

     ข้อเสนอแนะของอาจารย์
การที่สังเกตเด็กและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก  และการเขียนข้อความหรือบทความต้องให้ตรงกับรูปภาพที่เด็กและเราตัดแปะ

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 13

วันเสาร์ที่ 18 กุภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 -  อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วเล่าเป็นเรื่องราวต่อกัน

 -  อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แทนคำ 1 ประโยคอะไรก็ได้ แล้วให้เพื่อนทาย

 -  พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่า พยางคืละ 1 ท่า  จากนั้นก็ทำท่าชื่อเพื่อนคนข้าง ๆ แล้ค่ยทำท่าตัวเอง

 -  ครูอธิบายว่า สิ่งที่เรารู้แล้วแสดงออกมาให้เพื่อนรู้ว่าเราเข้าใจ  *คือการเรียนรู้*

 -  เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ

-  พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 -  อาจารย์พูดถึงเรื่องการแต่งกาย แต่งให้ถูกระเบียบที่มหาลัยกำหนดไว้



 -  อาจารย์เปิดดู Blogger เพื่อดูความคืบหน้า และใครขาดเหลืออะไรให้ไปแก้ไขปรับปรุงมาให้ดี


 -  อาจารย์ให้ทำปริศนาคำทายกลุ่ม 4  คน โดยอาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู
   
     ตัวอย่าง
การสร้างภาพปริศนาคำทาย
1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

-ไม่มีเรียน  เนื่องจากเป็นวันกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุภาพันธ์ พ.ศ. 2555


-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน
     อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา
      เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี


         

บันทึกการเข้่าเรียนครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ.2555


- สอนอิทธิบาท 4

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

- อาจารย์ให้ส่งงานที่อาจารย์สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ ประวัตินักการศึกษาที่พูดเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ให้เขียนภาษาถิ่นของแต่ละคน(ภาษาใต้)

- อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

-ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจาก ไปทำธุระ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555

-ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ.2555

ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนองานการเล่านิทานที่ไปเล่าให้เด็กฟัง
    พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
    ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
    ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
    ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
    ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
    ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
-โดยกลุ่ม ข้าพเจ้าได้เล่านิทานเรื่อง ..เทวดากับช่างทำรองเท้า
    บันทึกพฤติกรรมในการรับฟังและตอบคำถาม
- ตั้งใจฟังนิทานเป็นอย่างดีและเมื่อสงสัยตัวละครในเรื่องก็คอยซักถามตลอดเวลา
- คำถามจากนิทาน(เป็นคำถามเชิงความจำ)
1.ตากับยายทำงานอะไร ?
ตอบว่า ทำรองเท้า
2.ตากับยายเอาหนังไปวางไว้ที่ไหนพอตื่นขึ้นมาแล้วเห็นรองเท้าสวยงาม
ตอบว่า บนโต๊ะ
3.ใครมาทำรองเท้าสวยงามให้ตากับยาย
ตอบว่า เทวดา
-นำเสนอเสร็จอาจารย์ได้สรุป การเรื่องเทคนิคการเล่านิทานและการตั้งคำถาม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 

งานที่ได้ับมอบหมาย
-อาจารย์ให้ทำpowerpointเกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2554

ความรู้ที่ได้รับ
 
-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายและให้นักศึกษาไป ดูกิจกรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
-อาจารย์ให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2554

ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมา รายงานหน้าชั้นที่ได้มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับน้องที่ไปสัมภาษณ์มา พร้อมกับเปิด VDO ที่ไปถ่ายมา-ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของ ตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ
 -" ภาษา " คือ เครื่องมือสื่อสารเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน
-จากการสัมภาษณ์พบว่า น้องไม่ค่อยพูดขณะสัมภาษณ์เพราะเขาเป็นคนไม่ค่อยพูดอยู่แล้วด้วย

  วิธีแก้ : ควรส่งเสริมโดยการพูดคุยซักถามในเรื่องที่เขากำลังสนใจ

งานที่ได้รับมอบหมาย

-ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
-ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2554

     ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-คำว่า "การจัดประสบการณ์"  ต้องมีเทคนิค หลักการ ขั้นตอน 
-ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง(รู้ว่าอายุเท่าไหนทำไรได้บ้าง)
-การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสระในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก


     งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กโดยการถ่ายวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2554

- ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
- อาจารย์ให้ซื้อต้นดาวเรืองมา 1 ต้น ต่อกลุ่ม 4 คน