วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

-ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจาก ไปทำธุระ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555

-ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ.2555

ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนองานการเล่านิทานที่ไปเล่าให้เด็กฟัง
    พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
    ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
    ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
    ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
    ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
    ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
-โดยกลุ่ม ข้าพเจ้าได้เล่านิทานเรื่อง ..เทวดากับช่างทำรองเท้า
    บันทึกพฤติกรรมในการรับฟังและตอบคำถาม
- ตั้งใจฟังนิทานเป็นอย่างดีและเมื่อสงสัยตัวละครในเรื่องก็คอยซักถามตลอดเวลา
- คำถามจากนิทาน(เป็นคำถามเชิงความจำ)
1.ตากับยายทำงานอะไร ?
ตอบว่า ทำรองเท้า
2.ตากับยายเอาหนังไปวางไว้ที่ไหนพอตื่นขึ้นมาแล้วเห็นรองเท้าสวยงาม
ตอบว่า บนโต๊ะ
3.ใครมาทำรองเท้าสวยงามให้ตากับยาย
ตอบว่า เทวดา
-นำเสนอเสร็จอาจารย์ได้สรุป การเรื่องเทคนิคการเล่านิทานและการตั้งคำถาม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 

งานที่ได้ับมอบหมาย
-อาจารย์ให้ทำpowerpointเกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2554

ความรู้ที่ได้รับ
 
-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายและให้นักศึกษาไป ดูกิจกรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
-อาจารย์ให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2554

ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมา รายงานหน้าชั้นที่ได้มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับน้องที่ไปสัมภาษณ์มา พร้อมกับเปิด VDO ที่ไปถ่ายมา-ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของ ตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ
 -" ภาษา " คือ เครื่องมือสื่อสารเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน
-จากการสัมภาษณ์พบว่า น้องไม่ค่อยพูดขณะสัมภาษณ์เพราะเขาเป็นคนไม่ค่อยพูดอยู่แล้วด้วย

  วิธีแก้ : ควรส่งเสริมโดยการพูดคุยซักถามในเรื่องที่เขากำลังสนใจ

งานที่ได้รับมอบหมาย

-ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
-ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2554

     ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-คำว่า "การจัดประสบการณ์"  ต้องมีเทคนิค หลักการ ขั้นตอน 
-ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง(รู้ว่าอายุเท่าไหนทำไรได้บ้าง)
-การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสระในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก


     งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กโดยการถ่ายวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2554

- ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
- อาจารย์ให้ซื้อต้นดาวเรืองมา 1 ต้น ต่อกลุ่ม 4 คน